หมากล้อม ศึกระหว่างสมองกลกับสมองคน
- ชุมนุมคณิตศาสตร์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
- 23 พ.ค. 2560
- ยาว 1 นาที
Chapter 2 : หมากล้อม ศึกระหว่างสมองกลกับสมองคน

ที่มาภาพ : http://www.smmsport.com/m/article.php?a=6503
เมื่อเดือนมีนาคมที่ป่านมา AI หรือสมองกล Alpha go ของ Google ได้ท้าแข่งนักหมากล้อมชั้นปรมาจารย์ Lee Sedol ซึ่งมันก็ชนะไปอย่างขาดลอย 4 : 1
ตามหลังหมากรุกและหมากฮอส ที่เราพ่ายแพ้ไปก่อนหน้านี้ และในไม่กี่ชั่วโมงก่อนหน้านี้ ตัวแทนจากมนุษย์ก็ได้พ่ายไปในกระดานแรกในศึกล้างตาอีกครั้ง

Lee Sedol
ที่มาภาพ : https://qz.com/639952/googles-ai-won-the-game-go-by-
defying-millennia-of-basic-human-instinct/
คนในอดีตมีความเชื่อว่า ยังไง๊ยังไงหุ่นยนต์ยังไงก็ไม่สามารถเอาชนะมนุษย์ในการแข่งหมากล้อมได้หรอก แต่เหตุการณ์นี้เองทำให้คนทั้งโลกต้องหันมามองและให้ความสนใจอย่างที่ไม่เคยเป็นมา
หมากล้อมนั้นประกอบไปด้วยจุดตัด 19 * 19 เราจะต้องยึดพื้นที่บนกระดานให้ได้มากที่สุด โดยหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกอีกฝ่ายล้อมจับกิน หากดูเผิน ๆ แล้วก็อาจจะง่ายใช่มั้ยล่ะครับ
แต่ความซับซ้อนคือ ความเป็นไปได้และวิธีในการเดินที่มีจำนวนมากกว่าต่างหาก และหากมีจำนวนหมากบนกระดานก็ใช่ว่าจะชนะหรอกนะ เพราะอาจจะแพ้ได้ด้วยการวางหมากเพียงเม็ดเดียวที่สามารถพลิกได้ทั้งกระดาน
ด้วยเทคนิคและเล่ห์เหลี่ยม ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ทำให้นักเขียนโปรแกรมต้องส่ายหน้าเป็นพัดลมไปตามๆกัน
แต่ตัว alpha go นี้ต่างจากโปรแกรมทั่วไป ตรงที่มันไม่ได้คำนวณหาความเป็นไปได้ในการเดินทั้งหมดที่มากมายมหาศาล แต่มันการเรียนรู้เทคนิคผ่านการเล่นวันละหลายพันกระดาน จนสามารถทำนาย คาดเดาได้ว่าถ้าเจอลักษณะแบบนี้ ตาต่อไปต้องเดินอย่างไร

ที่มาภาพ : https://www.rpgnation.com/2016/03/10/googles-alphago-
ai-wins-for-a-second-time-against-go-top-player/
นับได้ว่าเป็นข้อพิสูจน์ได้ดีของประโยคที่ว่า ยิ่งฝึกบ่อย ๆ ก็ยิ่งเก่ง
หลายคนอาจจะกลัวถึงการพัฒนา สมองกล ว่าอาจจะเป็นเหมือนในหนัง คนเหล็กบ้างล่ะ แต่หากมองย้อนในมุมกลับจะพบว่า นี่คือก้าวที่สำคัญของมนุษย์ชาติ
และนี่คือความเป็นไปได้ในการเดินหมากทั้งหมดของหมากล้อม : 208168199381979984699478633344862770286522453884530548425639456820927419612738015378525648451698519643907259916015628128546089888314427129715319317557736620397247064840935
ที่มา :
https://www.wired.com/2014/05/the-world-of-computer-go/
http://blog.neungkl.com/2016/03/12/how-alphago-work/
Comments