top of page
Recent Posts
Featured Posts

รางวัลอิกโนเบลทางคณิตศาสตร์ อย่างนี้ก็ได้เหรอ?

  • ชุมนุมคณิตศาสตร์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
  • 1 ต.ค. 2560
  • ยาว 2 นาที

Ig Nobel ย่อมาจาก ignoble Nobel เป็นรางวัลที่มอบให้แก่ผลงานทางวิทยาศาสตร์หรืองานวิจัยที่ไม่น่าจะเป็นไปได้

ก่อตั้งโดย มาร์ก อับราฮัมส์ (Marc Abrahams) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1991 เกณฑ์การคัดเลือกมีเพียงอย่างเดียวคือ งานวิจัยของคุณต้องทำให้คนขำและฉุกคิดให้ได้ สิ่งที่จะได้หากได้รางวัลอิกโนเบล คือ 1.กรอบรูปรางวัลอิกโนเบลที่ทำจากวัสดุราคาถูก 2.ต้องจ่ายค่าการเดินทางมารับรางวัลที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเอง 3.จะได้รับรางวัลอิกโนเบลจากผู้ที่ชนะรางวัลโนเบล “ความบ้าบอสำคัญต่อการส่งเสริมให้สาธารณชนสนใจในวิทยาศาสตร์” – มาร์ก ผู้ก่อตั้งราวัล Ig Nobel

The Case of Moulay Ismael-Fact or Fancy? สาขาคณิตศาสตร์ ปี 2015

ที่มาภาพ : https://www.novinky.cz/koktejl/225902-nejvetsi-rodina-

na-svete-bydli-ve-stopokojovem-dome-presto-se-tam-macka.html​

เป็นไปได้แค่ไหนที่ชายคนหนึ่งจะมีลูกได้ถึงหลายร้อยคน Moulay Ismail ibn Sharif กษัตริย์แห่งโมรอคโค มีชีวิตอยู่ในช่วงปีคศ. 1672 1727 ถูกบันทึกว่าเป็นผู้ที่มีบุตรมากกว่า 888 คน เป็นรองก็แต่ เจงกิสข่าน จักรพรรดิแห่งมองโกล Elisabeth Oberzaucher และKarl Grammer ได้ทำการศึกษาและสร้างแบบจำลอง แสดงการคำนวณที่ชายคนหนึ่งจะมีบุตรสูงสุดได้ทั้งหมดกี่คน โดยมีปัจจัยต่างๆเป็นองค์ประกอบ ซึ่งการศึกษาพบว่า Moulay Ismail ibn Sharif ในช่วงระยะเวลา 32 ปีนั้น เขาสามารถที่จะมีบุตรได้มากกว่า 600 คน นั่นหมายความว่า ชายปกติก็สามารถมีลูกได้หลายร้อยคน และต้องมีเพศสัมพันธ์อย่างน้อย 1.3 ครั้ง ต่อวัน แต่อย่างไรก็ตามคุณก็ต้องมีจำนวนภรรยาที่เพียงพอนะ

สามารถศึกษาผลการศึกษาที่น่าสนใจของเขาทั้งสองได้ที่ :


085292

Are Cows More Likely to Lie Down the Longer They Stand? สาขาความน่าจะเป็น ปี 2013

ที่มาภาพ : https://www.reference.com/pets-animals/many-hours

-day-cows-sleep-c76b68ab2a2e88c

ยิ่งวัวนอนนานมากเท่าไร มันก็ยิ่งจะลุกตื่นขึ้นมาเร็วเท่านั้น และเมื่อวัวลุกขึ้นยืนมาแล้ว คุณไม่สามารถทำนายได้ง่ายๆว่า มันจะนอนลงอีกเมื่อไหร่! โดยผู้วิจัยได้ให้คำอธิบายไว้ว่า เพราะยิ่งวัวนอนนาน มันก็ยิ่งหิว และมันก็ไม่สามารถที่จะกินขณะนอนได้ มันจึงต้องลุกขึ้นมาเพื่อกิน แต่ต่างจากกรณีของการยืน ที่ไม่จำเป็นว่ามันยืนนานแล้วจะมีโอกาสที่จะนอนลงเร็วขึ้น! ถึงแม้จะดูเป็นการศึกษาที่ไร้สาระ แต่กลับมีประโยชน์ (นิดหน่อย) ต่อคนเลี้ยงวัวที่สามารถศึกษาได้ว่าวัวตัวนั้นมีอาการป่วยหรือไม่

ที่มา :

สาขาคณิตศาสตร์ ปี 2011

ที่มาภาพ : https://www.youtube.com/watch?v=3v4mDdxBC9w

เหล่าหมอดู นักพยากรณ์ ที่ได้ทำนายว่าโลกจะแตกในปีต่างๆ จนถึงปี 2011 ได้แก่ Dorothy Martin จาก อเมริกา 1954 Pat Robertson จาก อเมริกา 1982 Elizabeth Clare Prophet จาก อเมริกา 1990 Lee Jang Rim จาก เกาหลีใต้ 1992 Credonia Mwerinde จาก อูกันดา 1999 Harold Camping จาก อเมริกา 1994 และ 2011

ต่างได้รับรางวัลในสาขาคณิตศาสตร์ด้วยสาเหตุที่ว่า พวกเขาเหล่านี้ได้สอนให้พวกเรารู้จักระมัดระวังในการตัดสินใจที่จะเชื่อสมมติฐานต่างๆ นับได้ว่ารางวัลที่อาจจะแปลกที่สุดแล้วในสาขาคณิตศาสตร์ ส่วนคำทำนายวันสิ้นโลกก็ยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องและไม่หยุดหย่อน สามารถอ่านคำทำนายวันโลกแตกจากรอบโลก เพื่อใช้ความคิดในการวิเคราะห์และการตัดสินใจที่จะเชื่อ ได้ที่ : http://abhota.info/end1.htm

Blink-Free Photos, Guaranteed สาขาคณิตศาสตร์ ปี 2006

ที่มาภาพ : http://suttonhoo.blogspot.com/2006/11/blink-free-guaranteed.html

"ในการถ่ายรูปหมู่ ถึงแม้ทุกคนจะยืนอยู่นิ่งๆ แต่มันมักจะมีใครคนหนึ่งหลับตาอยู่เสมอ” ทุก ๆ ท่านคงจะเคยประสบปัญหานี้ โดยเฉพาะการถ่ายรูปรวมหลายสิบคนที่ต้อถ่ายใหม่ซ้ำแล้วซ้ำเล่าหลายครั้ง เพราะมีกะพริบตานั่นเอง เช่นเดียวกันกับ Nic Svenson ช่างภาพชาวออสเตรเลีย "ผมเคยถ่ายรูปหมู่หลายครั้ง และผมเกิดสงสัยว่า ต้องถ่ายกี่รูปกันถึงจะมั่นใจได้ว่าไม่มีใครหลับตาอยู่" Nic จึงไปปรึกษาอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย Dr Piers Barnes ซึ่งเค้าได้อธิบายปัจจัยที่ส่งผลต่อจำนวนครั้งที่ต้องถ่ายรูปได้แก่ ความน่าจะเป็นที่คนจะหลับตา (x) จำนวนคน (n) และระยะเวลาในการกดถ่ายรูป (t) นั่นทำให้ได้สูตรความน่าจะเป็นที่ภาพจะออกมาไม่มีใครหลับตาเลย

= (1-xt)^n โดยสามารถสรุปออกมาได้ว่า ถ้าคนน้อยกว่า 20 คนในกรณีที่แสงเอื้ออำนวย (good light) ให้นำจำนวนคนหารด้วย 3 หากแสงไม่เอื้ออำนวย (bad light) ให้หารด้วย 2 จะได้จำนวนครั้งที่คุณต้องถ่ายรูปเพื่อให้แน่ใจว่า ทุกคนลืมตามองมาที่กล้องอยู่

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ :

Estimation of the total surface area in Indian elephants (Elephas maximus indicus) สาขาคณิตศาสตร์ ปี 2002

ที่มาภาพ : https://en.wikipedia.org/wiki/Asian_elephant

สูตรพื้นที่ผิวของทรงกลมคือ 4*pi*r ทรงกระบอกคือ 2*pi*r*h + pi*r^2 แล้วถ้าเป็นพื้นที่ผิวของช้างอินเดียล่ะ คือเท่าไหร่ ? ช้างอินเดีย 24 ตัว ในเพศ สถานที่ และสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันออกไป เพื่อเก็บข้อมูลแล้วนำมาสรุปเป็นสูตรหาพื้นที่ผิวทั้งหมดของช้างอินเดีย (S ) (ในหน่วยตารางเมตร) ซึ่งที่น่าสนใจคือมีตัวแปรเพียง 2 ค่าเท่านั้นคือ ความสูงจากบ่า (H) และความยาวรอบรูปของเท้าหน้า (FFC) ​

S = -8.245 + 6.807H + 7.073FFC และเพศไม่มีนัยสำคัญต่อการสูตรข้างต้น รวมทั้งน้ำหนักของช้างอีกด้วย คงจะเป็นเรื่องยากที่จะอธิบายว่า อะไรเป็นแรงบันดาลใจเค้าพวกเขาอยากรู้พื้นที่ผิวของช้าง

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ :

Comments


Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Facebook - White Circle
  • Google+ - White Circle

© 2017 by Graphic Designer of Suankularb Mathclub. Proudly created with Wix.com

bottom of page